วิจัย แก้มยาง

จัดทำโดย นายอภิชัจ ชูทิพย

ที่มา http://ethesisarchive.library.tu.ac.th/thesis/2017/TU_2017_5910037059_7869_7262.pdf

สรุปผลการวิจัย

จากปัญหาฟองอากาศตกค้างในโครงสร้างยาง โดยพบมากที่สุดที่บริเวณแก้มยาง
รถยนต์ประเภทที่มีขอบกระทะล้อตั้งแต่ 20 นิ้วเป็นต้นไป ซึ่งมีสาเหตุจากการที่ร่องความลึกใต้ท้อง
แก้มยางไม่ได้ตามค่าเป้าหมายที่ตั้งเอาไว้และเมื่อนําแก้มยางที่ร่องความลึกไม่ตามค่าเป้าหมายไปขึ้น รูปที่แผนกขึ้นรูป ส่งผลทําให้เกิดฟองอากาศตกค้างในโครงสร้างยางที่บริเวณแก้มยาง ซึ่งผู้วิจัยได้นําปัญหาดังกล่าวมาวิเคราะห์ถึงสาเหตุของการเกิดปัญหา โดยพบว่า จากผังการไหลของงานที่ตําแหน่งงานต่าง ๆ ซึ่งตําแหน่งที่ส่งผลต่อการเกิดร่องความลึกของยางได้แก่ ตําแหน่งงานที่ตัวกดและตัวทําร่องความลึก จากนั้นผู้วิจัยได้นําผังก้างปลามาช่วยในการวิเคราะห์หาสาเหตุของปัญหาดังกล่าว พบว่าปัจจัยที่มากระบวนการทํางานของระดับแรงดันลมและระยะระหว่างตัวกดและตัวทําร่องความลึกมี
ค่าที่ไม่เหมาะสม สําหรับแก้มยางรถยนต์ประเภทที่มีขอบกระทะล้อตั้งแต่ 20 นิ้วเป็นต้นไป ซึ่งไม่
สามารถใช้ระดับแรงดันและระยะห่างระหว่างตัวกดและตัวทําร่องความลึกกับแก้มยางรถยนต์
ประเภทที่มีขอบกระทะล้อต่ํากว่า 20 นิ้วเป็นต้นไปได้
ก่อนเริ่มทําการทดลองผู้วิจัยได้ทําการสุ่มตรวจเช็คค่าความลึกตัวอย่างก่อนทําการ
ปรับปรุงและวิเคราะห์ความผันแปรของระบบการวัดในรูปแบบของความสามารถในการทําซ้ําและ
ความสามารถในการให้ผลซ้ํา หรือ Gage R&R จากนั้นผู้วิจัยจึงใช้เทคนิคการออกแบบการทดลอง
แบบเซ็นทรัลคอมโพสิตดีไซน์และวิธีพื้นผิวตอบสนองมาช่วยในการวิเคราะห์ปัจจัยที่เหมาะที่สุด
เพื่อให้ร่องความลึกใต้ท้องแก้มยางได้ตามค่าเป้าหมาย โดยผู้วิจัยใช้ค่าผลตอบสนองเป็นค่าเฉลี่ยของ ผลส่วนต่างของร่องความลึกที่ได้ค่าจากการวัดร่องความลึกที่ตําแหน่งๆ และนําไปเทียบกับค่า
เป้าหมาย ซึ่งผลตอบสนองที่เหมาะที่สุดของค่าเฉลี่ยผลต่างที่ต้องการ คือ ศูนย์จากนั้นจึงนําข้อมูลที่ได้จากการทดลองมาตรวจสอบความเหมาะสมของแบบจําลองการถดถอย และพบว่าแบบจําลองการ

ถดถอยที่ได้มีความถูกต้องตามเงื่อนไขในการออกแบบการทดลอง โดยทําการทดสอบข้อกําหนด
เกี่ยวกับส่วนตกค้างทั้ง 3 การทดสอบ ซึ่งได้แก่ การกระจายแบบปกติความเสถียรของความ
แปรปรวน และความเป็นอิสระของข้อมูล
โดยค่าของปัจจัยที่เหมาะสมที่สุดที่ทําให้ค่าผลส่วนต่างของร่องความลึกระหว่างค่า
ทดลองกับค่าเป้าหมาย คือ แรงดันลมที่ 0.762 เมกะปาสคาล และระยะห่างระหว่างตัวกดและตัวทํา
ร่องร่องอยู่ที่ 2.3 มม. เมื่อทําการทดลองตามที่ปัจจัยที่เหมาะสมที่สุด พบว่า ให้ค่าผลลัพธ์ของร่อง
ความลึกใต้ท้องแก้มยางอยู่ที่ตําแหน่งด้านซ้ายเฉลี่ย 0.358 มิลลิเมตร ตําแหน่งกลางเฉลี่ย 0.148
มิลลิเมตร และตําแหน่งขวาเฉลี่ยที่ 0.252 มิลลิเมตร ซึ่งให้ผลลัพธ์ที่ใกล้เคียงกับค่าเป้าหมายเป็นอย่าง
มาก ส่งผลให้ลดปัญหาของเสียที่เกิดจากฟองอากาศตกค้างในแก้มยางลงได้ถึงร้อยละ 56.88 จากเดิม
ที่มีปริมาณของเสียเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 17.42 ลดลงเฉลี่ยเหลือร้อยละ 7.51 และทําให้อันดับโดยรวม
ของปัญหาฟองอากาศตกค้างภายในแก้มยางลดลงจากลําดับที่ 3 มาอยู่ในลําดับที่ 5 ซึ่งถือได้ว่าผล
เป็นที่น่าพึงพอใจ
ข้อดีของการใช้พื้นผิวผลตอบในการแก้ปัญหาของงานวิจัยนี้คือ สามารถหาสภาวะที่
เหมาะสมที่สุดได้อย่างรวดเร็วและมีความแม่นยําเป็นอย่างมาก โดยอาศัยการสร้างแบบจําลอง และ
การวิเคราะห์ข้อมูลของการทดลอง แต่การใช้พื้นผิวตอบสนองก็มีข้อจํากัดอยู่ที่ผลของค่าตอบสนอง
จะต้องคงที่หรือมีความแปรปรวนน้อย เพื่อให้ได้ค่าที่แม่นยําที่เหมาะสมที่สุดของกระบวนการผลิต อีก
ทั้งเทคนิคการออกแบบการทดลองแบบเซ็นทรัลคอมโพสิตดีไซน์ยังเป็นวิธีการที่เปลืองทรัพยากร
พอสมควร เนื่องจากมีจํานวนการทดลองที่มากกว่าวิธีอื่น ๆ แต่มีข้อดีที่ให้ผลลัพธ์ที่แม่นยํากว่าเมื่อ
เทียบกับการออกแบบการทดลองด้วยวิธีอื่นเช่นกัน

ในอนาคตยางรถยนต์อาจจะมีวิวัฒนาการแตกต่างไปจากเดิม มีการเพิ่มขอบล้อให้ใหญ่
ขึ้นตามสมรรถนะของรถยนต์หรือเพื่อเพิ่มความสวยงาม ทําให้สภาวะที่ใช้ต้องมีการปรับเปลี่ยนอยู่
ตลอดเวลา ดังนั้นจึงสามารถนํางานวิจัยนี้ไปประยุกต์หรือนําไปปรับใช้เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด
ในกระบวนการผลิตต่อไป ในบางครั้งอาจจะนําหลักการออกแบบการทดลองและการวิเคราะห์ผลผ่าน
โปรแกรมสําเร็จรูปไปเป็นแนวทางในการแก้ไขและวิเคราะห์ถึงปัญหา ซึ่งในปัจจุบันทุก ๆ โรงงานย่อม
ต้องมีการใช้แรงดันลมเป็นตัวขับเคลื่อนกระบวนการผลิตภายในโรงงาน ซึ่งสามารถนําหลักการหรือ
ขั้นตอนการออกแบบการทดลองไปประยุกต์ใช้ต่อไป

Design a site like this with WordPress.com
Get started